1/20/2558

จิ๋นซีฮ่องเต้ สั่ง "เผาตำราฆ่าบัณฑิต"

212 ปี ก่อน ค.ศ. จิ๋นซีฮ่องเต้ สั่งเผาตำราขงจื๊อ รวมทั้งส่งคณะสำรวจทางเรือเพื่อค้นหาต้นสมุนไพนใช้ทำยาอายุวัฒนะ

การดำเนินการเผาตำราฆ่าบัณฑิตนั้น มีการออกราชโองการให้เผาทำลายหนังสือตำราทุกชนิด ยกเว้นตำราการแพทย์ ตำราพยากรณ์ และตำราการเพาะปลูก มีคำสั่งห้ามมิให้มีการเปิดโรงเรียนเอกชน ห้ามเรียนวิชาเกี่ยวกับแนวความคิดของสำนักต่างๆ และดำเนินการวิพากษ์วิจารณ์ภาครัฐโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ในเวลาต่อมาเมื่อโองการประกาศใช้ ก็สร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาสานุศิษย์ของลัทธิขงจื๊อเป็นอย่างมาก ส่งให้สานุศิษย์ของลัทธิขงจื๊อเหล่านี้ออกมาเผยแพร่ความเหลวแหลกของจิ๋นซี ฮ่องเต้ ไม่ว่าจะเป็นการเสาะหายาอายุวัฒนะ ความโลภ และโหดเหี้ยมต่างๆ นานัปการ

เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้ทราบข่าวดังกล่าวเข้าก็พิโรธเป็นอย่างยิ่ง และออกคำสั่งให้มีการประหารเหล่าสานุศิษย์ของลัทธิขงจื๊อ ด้วยวิธีการฝังทั้งเป็นรวมแล้วกว่า 460 คน

การเผาตำราฆ่าบัณฑิต เดิมทีเป็นความพยายามของจิ๋นซีฮ่องเต้ในการควบคุมทางความคิดของประชาชนให้ เป็นไปในแนวเดียวกัน แต่ผลสุดท้ายการกระทำดังกล่าวกลับไม่ได้สามารถช่วยกลบเกลื่อนความเหลวแหลก ความโลภ และความโหดร้ายทารุณของจิ๋นซีฮ่องเต้ในการปกครองประเทศให้เบาบางลงได้ และรังแต่จะเร่งจุดจบของราชวงศ์ฉินให้มาถึงรวดเร็วขึ้นเท่านั้น

ขอบคุณ
หนังสือ “ศาสนา และปรัชญา ในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น” โดย ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9490000004971

สงครามเพลอพอนนีเซียน (Peloponnesian War)

สงครามเพลอพอนนีเซียน (Peloponnesian War) ปี 431-404 ก่อน ค.ศ.

 ปี 431 ก่อน ค.ศ. เริ่มสงครามที่เรียกว่า เพลอพอนนีเซียน ระหว่างสปาร์ต้า กับ เอเธนส์ เป็นผลจากความขัดแย้งระหว่าง เอเธนส์ กับ สปาร์ต้าร่วมกับคอรินธ์ อันมีผลมาจากการแย่งชิงอาณานิคม และแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้า สปาร์ต้าจึงร่วมกับคอรินธ์ประกาศสงครามและส่งกำลังเข้าโจมตีเอเธนส์

ปี 404 ก่อน ค.ศ. หลังจากเอเธนส์ขอทำสัญญาสงบศึกในปี 422 ก่อน ค.ศ. สปาร์ต้า ก็บุกเอธนส์อีกในปี 419 ก่อน ค.ศ. และเกิดการรบรุนแรงตามมา ความเสียหายอย่างหนักในทุกด้านทำให้เอเธนส์ยอมแพ้ในปี 404 ก่อน ค.ศ. สปาร์ต้ายกเลิกระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ และสถาปนาระบอบคณาธิปไตย นำไปสู่ความเสื่อมของกรีกเนื่องจากเต็มไปด้วยการทำลายระหว่างรัฐกรีกด้วยกัน เอง

ขอบคุณข้อมูล ธเนศวร์ เจริญเมือง เรื่อง การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก