1/23/2558

พิธีสตี เผาตัวตายตามสามี

พิธีสตี คือ พิธีที่ภรรยาหม้ายจะเผาตัวตายตามสามี ทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อว่าพิธีนี้จะช่วยไม่ให้เกิดเป็นสัตว์ในชาติหน้า นอกจากจะได้ไปมีชีวิตร่วมกับสามีตลอดไปแล้ว ยังช่วยล้างบาปให้ตระกูลสามีถึง 3 ชั่วคน

มีผู้พยายามเลิกพิธีนี้ตั้งแต่ศริสตศวรรษที่ 15 คือ เจ้าผู้ครองแคว้นแคชเมียร์ห้ามทำพิธีสตีในดินแดนของตน แต่ไม่สำเร็จเพราะสมัยต่อมามีการรื้อฟื้นอีก ใน ค.ศ.1510 อาบูเคิร์ก ข้าหลวงโปรตุเกสห้ามทำพิธีสตีในเมืองกัว พระเจ้าอักบาร์ และพระเจ้าชาร์ฮันคีร์เคยห้ามเช่นกัน แต่ห้ามได้เฉพาะแถบเมืองหลวงเท่านั้น

ระหว่างที่อินเดียอยู่ใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออก บริษัทไม่กล้ายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะประเพณีเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก หากบริษัทเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือยกเลิก จะกระทบกระเทือนความรู้สึกของชาวอินเดียที่มีความเชื่อในเรื่องนี้ และบางครั้งก็เป็นความเต็มใจของผู้ทำพิธีเอง อีกประการหนึ่งอังกฤษเชื่อว่า ความรู้และการศึกษาตามแบบตะวันตกจะช่วยทำให้ประเพณีที่ล้าสมัยเช่นนี้หมดไปเอง

เมื่อมีผู้เรียกร้องให้เลิกพิธีสตีมากขึ้น ชาวยุโรป เช่น พวกดัชท์ ฝรั่งเศส ห้ามทำพิธีในเขตของตน เจ้าหน้าที่ขาวอังกฤษที่อยู่ตามอำเภอก็เคยร้องเรียนต่อฝ่ายปกครอง แต่บริษัทยังมีนโยบายวางตัวเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ.1805 ได้มีการปรึกษาเจ้าผู้ครองแคว้นอินเดียในเรื่องนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิชาวฮินดูได้ให้ความเห็นว่า การทำพิธีเป็นความสุขของผู้ทำ ควรห้ามในบริเวณที่ไม่ค่อยมีการทำพิธีเท่านั้น

ในปี ค.ศ.1812 บริษัทได้ออกคำสั่งห้ามการชักจูงหรือหลอกลวงโดยวิธีหนึ่งวิธีใด ให้ประกอบพิธีโดยเจ้าตัวไม่เต็มใจ ชาวอินเดียบางคนได้เรียกร้องให้เลิกพิธี เช่น รามโมฮันรอย(Rammohan Roy) เขียนหนังสือเผยแพร่ให้ชาวเบงกอลเห็นความเลวร้ายของพิธีนี้ และให้ยกเลิกเสีย

เมื่อ ลอร์ดวิลเลียม เบงทิงค์ เป็นข้าหลวงใหญ่ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการบริษัทให้พิจารณาหามาตรการเด็ดขาดที่จะยกเลิกพิธีสตีโดยทันทีหรือค่อยๆเลิก เนื่องจากคณะกรรมการบริษัทได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมซึ่งมีอิทธิพลในยุโรปขณะนั้น

ลอร์ดเบงทิงค์ ได้สอบถามความเห็นจากข้าราชการ และพลเรือน ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกเลิก ดังนั้นในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1829 จึงมีกฎหมายให้การทำพิธีสตีเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในเขตเบงกอล ซึ่งเป็นเขตที่มีการประกอบพิธีสตีมากที่สุด การกระทำดังกล่าวถือเป็นอาชญากรรมถึงแม้ว่าเป็นการกระทำโดยสมัครใจก็ตาม ผู้ช่วยเหลือจะมีความผิด หากเป็นการบังคับจะมีความผิดถึงตาย กฎหมายนี้ประกาศใช้ในเขตอื่นด้วยในภายหลัง เช่น มัทราช และบอมเบย์ หลังจากได้มีการออกกฎหมายยกเลิกพิธีสตีแล้ว พิธีนี้ก็ค่อยๆหายไปจากอินเดีย จะมีบ้างเล็กน้อยนอกเขตการปกครองของอังกฤษ แต่จากการที่ชาวอินเดียได้รับการศึกษาและความรู้แบบใหม่ ทำให้การทำพิธีหมดไปในที่สุ

จาก เอกสารที่อาจารย์แจกสมัยเรียน ไม่รู้อาจารย์เอามาจากเล่มไหน

ประชากรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2000 และ 2014

ประชากรในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2000 และ 2014

ก่อนเราจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ผมได้รวมรวมข้อมูลประชากรในภูมิภาคนี้ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลมีเรื่องราวน่าสนใจหลายเรื่องครับ

-ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด ไม่มีใครสู้ อินโดนีเซีย ครับ

-ประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุด บรูไน ครับ

-ประเทศที่มีอัตราการเพิ่มประชากรมากที่สุด สิงคโปร์ ครับ (ผมคิดอัตราการเพิ่มจาก ประชากรที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2000-2014 ว่าเป็นกี่ % ของประชากรในปี 2000) บางทีหลายท่านอาจตกใจ เพราะถ้าใครได้ตามข่าว อาจจะพอทราบมาบ้างว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบปัญหาการขาดแคลนประชากรเป็นอย่างมาก เพราะคนไม่นิยมการมีบุตรมาก แต่นั่นเป็นปัญหาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน แต่ตัวเลขนี้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นในช่วงสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันน่าจะอยู่ในช่วงที่อิ่มตัวแล้ว

-ประเทศที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรต่ำสุด คือ ไทย ครับ (ถ้าดูตามข้อมูลผมว่าอีกไม่นานเมียนมาร์อาจจะแซงเรานะ แต่เรื่องประชากรเยอะๆเนี่ย มันก็ไม่ใช่เรื่องดี ที่จะมาแข่งกันหรอกครับ ผมว่าไทยเราไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพประชากร และเตรียมรับมือกับปัญหาการเข้าสูสังคมผู้สูงอายุดีกว่า)

-ระหว่างปี 2000-2014 มีอันดับจำนวนประชากรที่เปลี่ยนแปลงเพียงอันดับเดียว คือ ระหว่าง ฟิลิปปินส์ ซึ่งแซงเวียดนามมาอยู่อันดับ 2 ด้วยอัตราการเพิ่มที่มากกว่ากันเท่าตัว(32-16)

ข้อมูล
www.un.org
www.worldpopulationreview.com