9/20/2559

บรรดาศักดิ์ขุนนางไทย อดีต-ปัจจุบัน


อันนี้เป็นเมื่อสมัยโบราณครับ แล้วถ้าจะเทียบเป็นระบบซี จะเทียบได้ดังนี้



ข้าราชการระดับ 11 เทียบ "เจ้าพระยา"

ข้าราชการระดับ 9,10 เทียบ "พระยา"

ข้าราชการระดับ 7,8 เทียบ "พระ"

ข้าราชการระดับ 5,6 เทียบ "หลวง"

ข้าราชการระดับ 3,4 เทียบ "ขุน" (ระดับ 3 ถือเป็นข้าราชการสัญญาบัตร)

ข้าราชการระดับ 2 เทียบ "พัน" หรือ "หมื่น"

ข้าราชการระดับ 1 เทียบ "นาย"



แต่เอาแบบปัจจุบันจริงๆนะครับ ข้าราชการพลเรือนไทยก็ยกเลิกระบบซีไปเรียบร้อยแล้ว มาใช้ระบบแท่ง มี 4 แท่ง หลายระดับวุ่นวายครับ เพื่อความง่ายต่อการเปรียบเทียบ ท่านที่ใช้ระบบแท่ง ก็ขอให้ลองกลับไปเปรียบเทียบดู ว่าหากยังใช้ระบบซี ท่านจะมีตำแหน่งซีเท่าไร ซึ่งตัวผมเองขอยกเป็นตัวอย่างเพื่อความเข้าใจง่ายๆนะครับ



กรณีท่านจบการศึกษา แล้วเข้าไปเป็นข้าราชการตามวุฒิที่ท่านจบมา

-ถ้าท่านจบ ปวช.(ซี 1) เป็นระดับปฏิบัติงาน เท่ากับ "นาย" ในสมัยโบราณ

-ถ้าท่านจบ ปวส.(ซี 2) เป็นระดับปฏิบัติงาน เท่ากับ "พัน" หรือ "หมื่น"

-ถ้าจบปริญญาตรี(ซี 3)โท(ซี4) เป็นระดับปฏิบัติการ เท่ากับ "ขุน" (ถ้าเป็นทหาร ตำรวจ ก็จบโรงเรียนนายร้อยใหม่ๆ)



จากนั้นก็เลื่อนระดับกันไปเรื่อยๆครับ แล้วมาดูระดับสูงๆกันบ้าง



-นายอำเภอเล็กๆ ก็ "พระ" นายอำเภอใหญ่ๆก็ "พระยา"

-ระดับอธิบดี หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เทียบเป็นระบบซี ก็ซี 10 ก็เทียบได้กับ "พระยา"

-ปลัดกระทรวง ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการ(ซี 11) จึงเท่ากับ "เจ้าพระยา"



ท่านที่สังเกตดีๆอาจจะเห็นว่าแล้ว "สมเด็จเจ้าพระยา" หายไปไหน ตำแหน่งนี้นั้นเพิ่งมามีครั้งแรกในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าข้าราชการโดยทั่วๆไป เรียกว่า พิเศษก็ได้ครับ และในประวัติศาสตร์นั้นเคยมีผู้ได้รับแต่งตั้ง เพียง 4 ท่าน คือ



1.สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก บรรดาศักดิ์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ก่อนปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ใหม่

2.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4

3.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 4

4.สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ สถาปนาขึ้นในรัชกาลที่ 5



อันนี้เป็นการเปรียบเทียบกับข้าราชการพลเรือนนะครับ ถ้าเป็นตำรวจ ทหาร ก็เปรียบเทียบกันได้ครับ ยิ่งง่ายเลย เริ่มที่สัญญาบัตรร้อยตรี ก็เทียบได้กับ ซี3 ก็รันขึ้นไปเรื่อยๆ พล.อ. ก็ ซี11 เจ้าพระยา ส่วนที่พิเศษไปกว่านั้น จอมพล ก็คงประมาณ สมเด็จเจ้าพระยา กระมัง



เราลองมาดูตัวละครในประวัติศาสตร์ ในนิยายกันดีว่าครับ

-พันท้ายนรสิงห์ ถ้าปัจจุบันคงเป็นทหารเรือยศนายสิบ(เพราะพันซี 2 ยังไม่สัญญาบัตร)

-ขุนแผน ก็คงเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกจบใหม่ ติดดาวเป็นร้อยตรี

-ขุนช้างก็ข้าราชการที่จบปริญญาตรีเพิ่งได้เข้าบรรจุใหม่เช่นกัน

-จั่นเจา องครักษ์ระดับ 4 ก็ประมาณร้อยตำรวจโทสินะครับ 555 (ขอเอาไปเทียบกับของจีนนะครับ)

-พระยาพิชัยดาบหัก ก็ นายอำเภอ(ขนาดใหญ่) หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด เลยล่ะครับ



ป.ล.ถ้าเรื่องระดับตำแหน่ง นี่เป็นการเทียบเพียงคร่าวๆ เท่านั้น หากเกิดผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้


ว่าด้วยเรื่อง พระนามพระมหากษัตริย์ไทย ในรูปแบบ พระเจ้า...ที่...(คล้ายทางยุโรป)

 ที่ไปที่มา คือ ความสงสัยที่เราน่าจะมีกันทุกคนว่า เราคุ้นเคยพระนามพระมหากษัตริย์ไทย ในนามที่เป็นพระนามเฉพาะพระองค์ ไม่ได้เป็นเหมือนในยุโรปที่เค้าใช้พระเจ้า...ที่... วันนี้ผมจึงขอนำเสนอเรื่องนี้ครับ (เตือนก่อนนะครับ เรื่องนี้ยาวมาก)

-พระนามขึ้นต้น “พระมหาธรรมราชา”
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไทย)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไลสือไท)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)

-พระนามขึ้นต้น “สมเด็จพระรามาธิบดี”
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา)
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช)

-พระนามขึ้นต้น “สมเด็จพระบรมราชาธิราช”
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระบรมราชา)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร)

-พระนามขึ้นต้น “สมเด็จพระสรรเพชญ์”
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 พระศรีเสาวภาคย์
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระเจ้าเสือ
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสร

-พระนามขึ้นต้น “สมเด็จพระบรมราชา”
สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 (พระเจ้าทรงธรรม)
สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (สมเด็จพระเชษฐาธิราช)


-พระนามขึ้นต้น “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี”
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (ร.1)
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ร.2)
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (ร.3)
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 (ร.4)
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 (ร.5)
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6 (ร.6)

อันสุดท้ายนี้เป็นของยุคราชวงศ์ จักรี ที่ผมค้นดูแล้ว เค้าบอกว่า ร.6 เป็นผู้ขนานนาม ร.1-ร.5 ในรูปแบบนี้ แต่พอมาถึง ร.7 ท่านก็ไม่ใช้แบบนี้ ข้อมูลตรงนี้ผมไม่แน่ใจในความถูกต้องนะครับ เพราะจริงๆแล้ว เหมือนผมคุ้นๆว่า ร.1 ท่านใช้นามอีกนามหนึ่งทำนองสมเด็จพระมหา...ที่... นี่แหละครับ แต่ไม่ใช่ที่ 1 นะ ใครพอจะทราบ รบกวนช่วยทีนะครับ ตอนนี้ที่ค้นได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้

อนึ่ง แต่ละพระนามท่านไม่ได้ครองราชย์ตติดต่อกันทุกพระองค์ ตามลำดับในแต่ละพระนามนะครับ มีการเว้น มีพระนามอื่นมาแทรก หรือไม่ก็กระโดดไปใช้ในอีกราชวงศ์ก็มี(ก็คล้ายๆทางยุโรปนั่นแหละครับ)

ข้อมูลด้านบนเป็นข้อมูลที่เคลียร์แล้วครับ และจากบรรทัดนี้เป็นต้นไปเป็นการวิเคราะห์ของผมเอง ประกอบกับข้อมูลที่ค้นได้ดีที่สุด ณ ตอนนี้ ผมแนะนำให้ตั้งใจอ่านนะครับ เพราะผมเองพิมพ์เอง ยังงงเหมือนกัน 55+

เอาล่ะครับ ที่นี้มาว่ากันที่พระนามที่เป็นปัญหา ซึ่งต้องบอกก่อนว่าผมใช้วิธีค้นจากวิกิพีเดีย และเวปไซต์ราชบัณฑิตยสถาน เป็นหลัก ซึ่งพระนามที่เป็นปัญหาของผมคือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร)
สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)

เรามาเริ่มพิจารณากันเลยครับ มันคงจะง่ายมาก หากผมลงความเห็นไปว่า ข้อมูลของทั้ง 3 ท่านนี้ผิดพลาด ทำให้เราหาที่ลงไม่ได้ว่า ทั้ง 3 ท่านนี้ จะไปอยู่ตรงไหน ปล่อยมันผ่านไป แต่ ณ จุดนี้ ผมขอใช้ความเห็นส่วนตัวในการพิจารณาทั้ง 3 ท่านนี้ โดยขอยกแนวทางความเป็นไปได้ ดังนี้

1.อันดับแรกเราไปดูที่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) นั้น ซ้ำกับพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 และ 4 ของพระบรมราชา และ พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ซึ่งผมเห็นว่าพระนามของพระบรมราชา และ พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร น่าจะเป็นนามที่ถูกต้องแล้ว เพราะสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 1 และ 2 ก็เป็นกษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณภูมิเช่นเดียวกัน อีกทั้งระยะการครองราชย์ ก็ต่อเนื่องกัน(แม้จะมีราชวงศ์อู่ทองมาคั่นก็ตาม)

หากเป็นเช่นนั้นแล้วไซร้ ท่านน่าจะไปอยู่ตรงไหน ผมว่าท่านน่าจะไปต่อจากสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (สมเด็จพระเชษฐาธิราช) เพราะหากเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า “สมเด็จพระบรมราชา” กับ “สมเด็จพระบรมราชาธิราช” ต่างกันแค่ตรง “ธิราช” เท่านั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนใด้ขั้นตอนหนึ่งในการจดบันทึก???

2.ที่นี้ไปดูนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หากเราจับพระบรมราชาธิราช ที่ 3 และ 4 ไปต่อเข้ากับ สมเด็จพระบรมราชา ที่ 1 และ 2 ดังที่ผมเสนอไปใน ข้อ 1) แล้วพิจารณาจากพระนามที่เหลือ ก็คงมีหลายท่านต่อให้จบแบบง่ายๆ พระเจ้าตากเป็นที่ 4 ก็หาที่ 3 ต่อซะ แม้พระนามจะไม่เหมือนกัน ก็สรุปไปซะว่า ข้อมูลที่คนมาผิดพลาด กวาดสายตาดูแล้ว เจอ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) ยังไม่มีที่ 4 ต่อ ก็ต่อไปซะเลยว่าจริงๆแล้วพระเจ้าตากคือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 ไม่ใช่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ข้อมูลที่ค้นมานั้นมันบันทึกผิดไป

แต่ช้าแต่ สำหรับผมมันไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกครับ ความเป็นไปได้ตรงนี้มันมีอีกหลาย แนวทาง อันดับแรก อาจจะมีพระนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ต่อจาก สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (สมเด็จพระเชษฐาธิราช) แต่ผมเองยังคนไม่พบว่าพระองค์ไหนใช้พระนามนี้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชย์ก็ใช้ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ต่อจากพระนามนั้นเลย

อีกแนวทางหนึ่งคือ ผมไปค้นเจออีกเรื่องที่น่าสนใจว่า จริงๆ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ไม่ได้ใช้พระนาม สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 อย่างที่เราทราบกันว่าก่อนเสียกรุงฯ ท่านมีปัญหากับพระเจ้าเอกทัศน์ ต้องสละราชสมบัติให้ หนีไปผนวช ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น (ตามที่ค้นมาบอก 2 เดือน) เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ว่า ท่านอาจไม่ได้มีเวลาที่จะเฉลิมพระนามอย่างเป็นทางการ และหากเราเชื่อถือตามข้อมูลนี้ ก็เป็นไปได้ว่าพระนาม “สมเด็จพระบรมราชาธิราช” สะดุดลงที่ลำดับ 3 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และเมื่อใช้บทวิเคราะห์จากข้อ 1) ที่ผมเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่ “สมเด็จพระบรมราชา” กับ “สมเด็จพระบรมราชาธิราช” จะเป็นพระนามเดียวกัน ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครองราชย์ก็ใช้พระนามสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ต่อจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(ที่จริงๆแล้วอาจเป็นสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ไม่ใช่ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3)

สุดท้ายนี้นะครับ สำหรับ พระนามในตอนต้นๆ อย่างที่บอกว่ามันเคลียร์พอสมควร ไม่มีปัญหาพิจารณา เพราะเป็นพระนามที่เป็นลำดับต่อกัน อีกทั้งบางพระนามยังใช้ในราชวงศ์เดียวกัน

ส่วน 3 พระนามที่เป็นปัญหา ดังที่ผมได้วิเคราะห์ตามความเห็นของผมไว้แล้ว เพื่อนๆก็โปรดพิจารณาตามความเห็นของท่านถึงความเป็นไปได้เถิดครับ และหากวันใดผมมีโอกาสไปคนความเพิ่มเติม แล้วไปพบว่า มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ได้มีการใช้พระนามตามแบบที่เราคุยกันวันนี้ ปัญหาของพระนามทั้ง 3 ท่านนี้ ก็อาจคลี่คลาย แก้ความสงสัยไปได้ แต่ ณ เวลานี้ สำหรับตัวผมเองแล้วสามารถนำเสนอต่อเพื่อนๆได้ดีที่สุด ตามข้อมูลข้างต้นนี้นะครับ
ป.ล.สุดท้ายจริงๆ ถ้าผมจะแชร์เรื่องนี้หลายรอบอย่าว่ากันนะครับ เพราะผมใช่เวลาทำนานจริงๆ อยากให้ทุกท่านได้เห็น และนี่เป็นเรื่องที่ผมติดค้างเพื่อนๆไว้หลายวันแล้ว บอกจะมาเสนอตั้งนาน แต่ไม่มาซักที เพื่อนๆผู้ใจดีทั้งหลายอย่าว่ากันเลยนะครับ กราบขออภัย
สุดท้ายอันนี้เป็นไฟล์ Excel ที่ผมใช้ประกอบทำเรื่องนี้



ตัวร้าย-แพะรับบาป ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย



คือบุคคลที่ผมกำลังจะพูดถึงเนี่ย เป็นบุคคลที่เราผู้สนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ มักจะพบถูกพูดถึงในแง่ไม่ดี เป็นคนที่ทำให้ชาติต้องประสบวิกฤติ เจอปัญหา คือเป็นตัวร้าย ประมาณนั้นแหละครับ บุคคลที่ผมพบเจอที่เข้าลักษณะแบบนี้ที่ชัดๆ ก็มี

1.พระยาจักรี ผู้เปิดประตูเมืองจนเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 อันนี้หลายท่านคงจะรู้จักเป็นอย่างดีแน่นอน เพราะถือว่า เป็นตัวร้ายสุดๆในประวัติศาสตร์เลยมั้ง เป็นไส้ศึก เปิดประตูเมืองให้ข้าศึก เป็นคนทรยศชาติเลยล่ะครับ แต่ข้อมูลของท่านนี้ก็ถือว่าคลุมเครือนะ ไม่มีหลักฐานว่าเกิดเมื่อใดและมีนามเดิมว่า อะไรไม่ปรากฏ(ผมลองค้นแล้ว) คือ มาโผล่อีกที เป็นพระยาจักรี โดนจับเป็นตัวประกัน แกล้งหนีมาได้ เปิดประตูเมืองให้พม่า ฯลฯ ท่านจะมีตัวตนจริง หรือเป็นเพียงคนที่ถูกแต่งขึ้นมาให้เป็นแพะรับบาป ต้นเหตุของการเสียกรุงฯ ทุกท่านก็ลองพิจารณาเอาเองเถิดครับ

2.พระเจ้าเอกทัศ ท่านนี้ มักจะถูกกล่าวถึงในลักษณะที่เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ เป็นต้นเหตุให้เสียกรุงฯครั้งที่ 2 พระบิดา (พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เห็นว่าไม่มีความสามารถ จากข้อมูลคือ “กรมขุนอนุรักษ์มนตรี(พระเจ้าเอกทัศ)นั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาแลความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานุศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่งนั้น บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย” (พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา) จึงให้ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต(สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เรียกว่า วางตัวเป็นกษัตริย์ในอนาคตนั่นแหละครับ ส่วนพระเจ้าเอกทัศ(กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ให้ไปออกผนวช แต่เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต พระเจ้าอุทุมพร ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าเอกทัศก็สึกออกมา พระเจ้าอุทุมพรกลัวจะวุ่นวาย เลยสละราชสมบัติให้ ตัวเองไปบวชแทน แต่เมื่อพม่ายกทัพมาท่านกลับไปขอให้พระเจ้าอุทุมพรสึกออกมาช่วยรบกับพม่า(อันนั้นสงครามกับพระเจ้าอลองพญา กรุงยังไม่แตกพระเจ้าอลองพญาสวรรค ตก่อน) แต่เมื่อพระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ยกทัพมาอีกที ก็ต้านไม่ไหวครับ เสียกรุงฯในที่สุด และท่านก็เป็นเหมือนแพะครับ กับเรื่องนี้

แต่กับเรื่องความสามารถ หรือความไร้ประสิทธิภาพของพระองค์นั้น ก็มีข้อมูลหลายอย่างที่บอกว่า จริงๆอาจไม่เป็นแบบนั้น พงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองของพม่า ได้บรรยายให้เห็นว่าในสงครามคราวเสียกรุงฯนั้น “ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้เตรียมการและกระทำการรบอย่างเข้มแข็ง มิได้เหลวไหลอ่อนแอแต่ประการใด” นอกจากนี้ ยังมีคำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "(พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ คือ พระเจ้าเอกทัศ)ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง" ฉะนั้น หากจะกล่าวถึงท่านในแง่ไม่ดี ผมว่าเราต้องหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนนะครับ

กลับกัน มีบุคคลท่านหนึ่ง ที่ไม่ค่อยเห็นมีใครกล่าวถึงในแง่ไม่ดีเลย แต่สำหรับผมนะ ท่านมีส่วนอย่างมากในการที่ทำให้เสียกรุงศรีฯครั้งที่ 1 ท่านนั้นคือ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ตอนนั้นครองเมืองพิษณุโลก เห็นว่าบุเรงนองยกทัพมาคงจะสู้ไม่ไหว ก็ไปเข้ากับพม่า เมื่อบุเรงนองยกทัพไปตีกรุงศรีฯ ท่านก็ไปด้วยครับ ในฐานะทัพหลัง เมื่อตีกรุงศรีฯได้ ก็ได้ขึ้นครองกรุงศรีฯ ในฐานะประเทศราช คือไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การกระทำของท่าน หากเปรียบเทียบกับท่านอื่นแบบกลางๆ ผมว่าก็ไม่ต่างจากพระยาจักรีเท่าไรเลย คือ ไปเข้ากับศัตรู มีส่วนทำให้ต้องเสียกรุงฯครั้งที่ 1 แต่ผมมีความเห็นส่วนตัวนะครับ ว่าที่ท่านไม่ค่อยถูกพูดถึงในด้านไม่ดี เพราะว่า ท่านเป็นบิดาของสมเด็จพระนเรศวร (ซึ่งผมก็ยกย่อง ชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์ครับ) ผู้ที่เรายกย่องกันว่ากู้เอกราช(แม้ว่าจะมีการเรียกฐานะระหว่างไทย-พม่า ตอนนั้นว่า ไม่ใช่การกู้เอกราช แต่จะเรียกว่าอะไรก็ตาม ผมขอเรียกว่ากู้เอกราชแล้วแล้วกันนะครับ เพื่อความเข้าใจตรงกัน) แต่ลองมองมุมกลับ ท่านกู้เอกราชของชาติ จากพม่าซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพระบิดาของท่านเอง แต่อย่างว่าล่ะครับ ตอนนั้น ชาติ ประเทศ มันยังไม่มีหรอก ผลประโยชน์ และความอยู่รอดของตัวเอง(และพวกพ้อง)นี่แหละ สำคัญสุด

***กระทู้นี้จะโดนด่าว่าไม่รักชาติป่าวหว่า???

ศาลเจ้ายะซุกุนิ

 ว่าด้วยเรื่อง “ศาลเจ้ายะซุกุนิ”

เพื่อนๆคุ้นหูกับศาลเจ้ายะซุกุนิไหมครับ ผมว่าถ้าใครดูข่าวต่างประเทศประจำ ต้องคุ้นแน่นอน เพราะสถานที่แห่งนี้มักจะมาพร้อมกับข่าวความขัดแย้งของประเทศญี่ปุ่น กับเพื่อนบ้าน คู่กรณีก็คือ จีน และเกาหลี
เราไปว่ากันที่อดีต ที่มาของศาลเจ้านี้กันก่อนดีกว่าครับ ในยุคเมจิ เกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าสงครามโบะชิง (ผมเคยเสนอเรื่องนี้ไปแล้ว ลองหาดูในเพจนะครับ) ซึ่งเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลโชกุนโทะกุกะวะและฝ่ายของผู้จงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ สุดท้ายฝ่ายองค์จักรพรรดิเป็นผู้ชนะ สิ้นสุดยุคของโชกุนโทะกุกะวะที่ปกครองญี่ปุ่นยาวนานกว่า 260 ปี มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก องค์จักรพรรดิเมจิมีรับสั่งให้สร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สงครามโบะชิง และพระราชทานชื่อว่า โตเกียวโชกนชะ ต่อมา จักรพรรดิเมจิ ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นยะซุกุนิจินจะ ในปี พ.ศ. 2422 ซึ่งหมายถึง ประเทศที่สงบสุข
หลังจากนั้นศาลเจ้ายะซุกุนิถูกใช้เพื่อเป็นที่สถิตให้แก่เหล่าดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 กว่า 2,466,000 คน ด้วย ภายในศาลมีป้ายชื่อทหารที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม บางคนมีชื่อเป็นอาชญากรสงครามรวมอยู่ด้วยกว่า 12 คน รวมทั้งนายฮิเดะกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการให้กองทัพญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการอัญเชิญดวงวิญญาณให้มาที่สถิตอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ปัญหามันก็เกิดเอาตรงนี้นี่แหละครับ เพราะทหารหลายคนที่เสียชีวิตในสงคราม แล้วถูกอัญเชิญมาสถิตที่นี่ มีป้ายชื่อ หลายคนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่ออาชญากรรมสงครามอันโหดร้ายต่อชาวจีนและเกาหลี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ประเพณีของผู้นำญี่ปุ่นในการสักการะดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นจึงสร้างความไม่พอใจให้กับทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก (จริงๆที่นั่นก็มีดวงวิญญาณทหารที่เสียชีวิตในสงครามโบะชิงด้วยนะครับ) ทั้งสองประเทศเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม บอกตรงๆคือทำร้ายจิตใจชาวจีน และเกาหลี ที่สูญเสียจากการกระทำของทหารญี่ปุ่นเหล่านั้นนั่นแหละครับ
ผมขออนุญาตมองเรื่องนี้ทั้งสองมุมนะครับ เป็นเช่นนี้เสมอครับ ฮีโร่ของเรา อาจเป็นตัวร้ายของเขาก็ได้ ผมเข้าใจจีนและเกาหลีนะครับ เพราะทั้งสองประเทศต้องสูญเสียมากมายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการนำของเหล่าทหารหลายท่านที่สถิตอยู่ที่ศาลเจ้าแห่งนี้ การที่ผู้นำของญี่ปุ่นไปสักการะดวงวิญญาณเหล่านั้น เหมือนเป็นการตอกย้ำความเจ็บช้ำที่ชาวจีนและเกาหลีได้รับ ความไม่พอใจย่อมมีเป็นธรรมดา แต่ผมก็เข้าใจมุมมองของญี่ปุ่นนะครับ เพราะอันที่จริงศาลเจ้าแห่ง ดั้งเดิมสร้างเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สงครามโบะชิง ซึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญที่กำหนดความเป็นไป ที่ส่งผลต่อญี่ปุ่นในปัจจุบัน (ก็สำคัญพอๆกับสงครามกลางเมือง เหนือ-ใต้ อเมริกานั่นแหละครับ) พวกทหารในสงครามโลกครั้งที่สองมาทีหลัง แต่การกราบไหว้สักการะมีมาแต่เนิ่นนาน จบแทบจะเป็นประเพณีของชาวญี่ปุ่นไปแล้ว
บางทีถ้ามาลองคิดดู ก็แยกยากนะครับ ว่าคนๆนั้นเค้าขึ้นไปไหว้เนี่ย เค้าไหว้ใคร ทหารในสงครามโบะชิง ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หรือไหว้แบบรวมๆ แต่ถ้าเราเป็นผู้นำญี่ปุ่นผมว่ากับเรื่องนี้ก็คิดหนักเหมือนกันครับว่าจะเอาไง ไปไหว้ จีน เกาหลี ไม่พอใจแน่ การดำเนินนโยบายต่างประเทศ,เศรษฐกิจ มีปัญหาแน่นอน แต่ถ้าไม่ไป อย่างที่เราพอจะทราบๆกัน ว่าญี่ปุ่น มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก ถ้าไม่ไปไหว้(ไม่แสดงความเคารพต่อผู้ที่ถือเป็นวีรบุรุษของชาติ) เพราะกลัวจีนกับเกาหลีจะโกรธ ท่านผู้นำคนนั้นนี่แหละครับจะโดนคนญี่ปุ่นโกรธ ความนิยมในตัวท่านก็ลดฮวบแน่นอน
ภาพประกอบ ศาลเจ้ายะซุกุนิ ปี 1873